วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทิน ครั้งที่4 

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคาร ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




ความรู้ที่ได้รับ

วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ

              วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว เศษผ้า สิ่งที่เราสามารถหาซื้อได้ง่าย อาจเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีอยู่ในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะ 
หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลม คม แตกง่าย ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก เช่น ถังสี น้ำยาต่างๆ

วัสดุที่ใช้งานศิลปะของเด็กปฐมวัย

              กระดาษ เช่น กระดาษวาดเขียน กระดาษบรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์ต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารต่างๆที่ไม่ใช้แล้ว แต่ต้องเป็นกระดาษที่เหมาะสมกับชิ้นงานนั้นๆ ไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงมากจนเกินไป

              กระดาษวาดเขียน/กระดาษปอนด์ มีความหนาไม่เท่ากัน มี 60 80 100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูประบายสีทุกชนิดสำหรับเด็กปฐมวัย ยิ่งหนาผิวยิ่งหยาบงานก็จะยิ่งสวย

               กระดาษโปสเตอร์ มีทั้งหน้าเดียวและสองหน้า ทั้งหนาและบาง การเลือกกระดาษขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าใช้กี่หน้า กระดาษที่มีสองหน้าจะมีความหนาแข็งแรงมากขึ้น

               กระดาษมันปู เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหน้าด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ

              กระดาษบรู๊ฟ ส่วนมากเอามาเขียน ไม่ค่อยวาดไม่ค่อยเหมาะกับเด็กปฐมวัย

               การดาษจากนิตยสาร เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อ

               กระดาษหนังสือพิมพ์ ขณะทดลองเอากระดาษหนังสือพิมพ์ให้เด็กทำก่อน พอเด็กทำได้ค่อยเอากระดาษจริงมาให้เด็กทำ หรือใช้เอามารองผลงาน หากเราไม่รูปเราสามารถนำมาตัดแปะได้

สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย

              สี เป็นวัสดุที่ดุงดูดความสนใจของเด็ก เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ

              สีเทียน เป็นจุดเริ่มต้นในการทำงานศิลปะ สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่า เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย (ไม่ควรเลือกสีขาว เพราะเราได้ใช้)

              สีชอร์กเทียน คล้ายกับสีเทียน เป็นสีชอร์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา  สามารถใช้เล็บ นิ่มมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน เหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก

             สีเทียนพลาสติก สีและพลาสติกผสมกันเป็นแท่งเล็กๆแข็ง เลาได้เหมือนดินสอ แต่มีราคาแพง

            สีเมจิก เหมาะสำหรับขีดเขี่ยลายเส้นหรือการเขียน

              ปากกาปลายสักหลาด หรือเรียกว่า ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติกไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ

              ดินสอ เด็กๆส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป ไม่ควรใช้ดินสอ เพราะดินสอเป็นตัวปิดกั้นความคิดของเด็ก เช่น การลบได้ ไม่มั่นใจในตัวเองลบบ่อยๆ ดินสอมีสีเดียว คือสีดำ เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7ปี

              ดินสอสีหรือสีไม้ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆมากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสีเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ

               สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ ได้แก่ สีฝุ่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีพลาสติกผสมน้ำ

               สีฝุ่น เป็นสีผง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย ขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น

               สีโปสเตอร์ ถ้าต้องการสีอ่อนจะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อนระบายได้เรียบ

               สีน้ำ เป็นสีโปร่งแสง เด็กจะไม่ค่อยชอบ เบื่อ เพราะควบคุมสียาก จึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก

               สีจากธรรมชาติ เป็นสีที่ได้จากผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือเปลือกของพืช เป็นสีที่ไม่มีสารเจือปน

วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ

               กาว เหมาะสมที่สุดสำหรับเด็กคือแป้งเปียก

               ดินเหนียว หรือดินตามธรรมชาติ มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้นทำเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีก็ได้

               ดินน้ำมัน มีส่วนผสมของดินน้ำมันอยู่ เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ

               ดินวิทยาศาสตร์ (แป้งโด) นิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินดินน้ำมัน ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตราย เหมาะสำหรับเด็กเล็ก




กิจกรรมศิลปะในวันนี้



 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรมวันนี้





                            


งานชิ้นที่1   ลากเส้นต้อจุดให้เป็นรูปภาพสิ่งที่มีชีวิต

  



                               


งานชิ้นที่2 ลากเส้นต่อจุดให้เป็นรูปภาพที่ไม่มีชีวิต




ประเมิน

           ตนเอง  :  วันนี้เรียนสนุกมาก ถึงแม้จะง่วงบ้างเล็กน้อยตอนเรียนทฤษฎี ชอบบรรยากาศแบบนี้ ไม่กดดัน

           เพื่อน   :   เพื่อนตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรม ผลงานของแต่ละคนสวยมากๆ

           อาจารย์  :  อาจารย์มีการเตรียมพร้อมในการที่ดีมาก มีการอธิบายเนื้อหาละเอียด มีการยกตัวอย่างและบอกเทคนิคต่างๆ ทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และทำกิจกรรมทุกครั้ง อาจารย์จะมีการเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น