วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทิน ครั้งที่2

วิชา การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

                                             วันอังคาร ที่ 19 เดือน มกราคม พ.ศ. 2558




ความรู้ที่ได้รับ

              การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นหน่งในหกกิจกรรมหลัก ที่ต้องทุกวัน ครูจึงต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ๆ เพราะกิจกรรมที่จัดจะได้ไม่ซ้ำซาก สอนตามหน่วยการเรียนที่จะสอน ทุกสิ่งทุกอย่างในตัวเรา สิ่งที่มนุยษ์สร้างขึ้นหรือวัสดุธรรมชาติ สามารนำไปสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะได้

             ศิลปะ หมายถึงเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ

            Art มีรากฐานมาจาก ภาษาลาตินว่า Art หมายถึง ทักษะหรือความชำนาญ หรือความสามารถพิเศษ

           งานศิลปะไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความเพียรพยายามสร้างสรรค์ข้นมาใหม่ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม

ทัศนะทางศิลปะ

            -  สิ่งที่เด็กแสดงออกซึ่งการเจริญเติบโต ความนึกคิด ความเข้าใจ และการแปลความหมายของสิ่งแวดล้อม (โอเวนฟิลด์ และบริเตน,1975)

             - ศิลปะที่มองเห็นได้ที่เรียกว่า ทัศนศิลป์ คือศิลปะสองมิติหรือความสามาร แทนความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยตรง (วิรุณ ตั้งเจริญ,2526)

             - งานศิลปะสำหรับเด็ก ไม่ใช่้พียงแค่การวาดาพระบายสี หรือการประดิษฐ์สิ่งต่างๆเท่านั้น แต่หมายึงการแสดงออก การสื่อสาร การ่ายทอด จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กแต่ละคน ที่เกี่ยวข้องกับตัวด็กและสิ่งแวดล้อม(สิริพร ตันติรัตน์ไพศาล,2545)

คนที่จะสอนศิลปะควรยึดปรัชญานี้ไว้

              - มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ อย่าปิดกั้นความคิดของเด็กเด็ดขาด ถ้าไปปิดกั้นความคิดเด็ก เขาก็จะไม่คิดอีกต่อไปแล้ว

              - เป็นเครื่องมือในการแสดงออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์ การแสดงไม่ใช่แค่การพูดแต่รวมถึงการถ่ายทอดความรู้สึกผ่านชิ้นงาน

              - ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ครูไม่ควรแค่ผลงาน แต่ต้องดูที่กระบวนการทำของเด็กด้วย

               - เน้นความไวในการรับรู้ด้านอารมณ์ ความคิดจากสิ่งที่มองเห็น

              - ความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงาน

              - สนับสนุนให้เรียนรู้ ด้วยการค้นคว้าทดลองสิ่งใหม่ๆ ครูไม่ควรกำหนดแต่ควรให้เด็กคิดและได้ค้นพบสิ่งใหม่ด้วยตัวเอง เช่น การผสมของแม่สีทำให้เกิดสีใหม่

               - นำไปใช้พัฒนาชีวิตด้านอื่นๆได้ ทุกอย่างสามารถพัฒนาตนเองได้ทุกด้าน

ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 

1 เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย

            - ชอบวาดรูป ขีดๆเขี่ยๆ เด็กจะชอบวาดภาพมากกว่าเขียน

            - เด็กมีความคิดจินตนาการ เด็กจะคิดไกล เด็กจะวาดเองตามจินตนาการ

            - เด็กใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดที่บางครั้งไม่สามารถพูด อธิบายได้

             - เด็กต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ เด็กชอบการชมเชยและยกย่องจากผู้ใหญ่

             - เด็กต้องการกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจ สิ่งที่สำคัญที่ครูควรทำคือการชมเด็กแต่ควรชมพอประมาณ เพื่อให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ

2เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย
 
             - ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา

             - ช่วยจัดประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น

             - กระบสวนการศิลปะจะทำให้เกิดการเรียนรู้ตนเองและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามวัย  เด็กยังเล็กความรู้น้อย ครูต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กเยอะๆ เพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น

            -ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน

            -ช่วยเสริมแรง/กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เช่น มีกระดาษ1แผ่น แล้วให้เด็กวาดอะไรก็ได้ตามจินตนาการ

            - จะทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ ครูต้องให้เด็กคิดเอง ทำเองเยอะๆ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์

ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)

               เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา  เน้นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความมีเหตุผลและการแก้ปัญหา ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง 120ความสามารถ ตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3มิติ คือ มีเนื้อหา 4มิติ วิธีการคิด 5มิติ และผลของการคิด 6มิติ

ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)

             ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ว่าประกอบด้วย ความคล่องแคล่ว(คิดรวดเร็ว)  ความยืดหยุ่นในการคิด(คิดได้หลากหลาย) ความริเริ่มในการคิด (คิดแปลกใหม่)

             ทอร์แรนซ์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่ขาดหายไป แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวความคิด ตั้งสมมติฐานและเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ ทำให้เกิดแนวทางในการค้นคว้าสิ่งที่แปลกๆใหม่ๆต่อไป

ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ

               การทำงานของสมองแตกต่างกัน สมองซีกซ้าย ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล ส่วนสมองซีกขวา จะทำงานส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

              ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ได้รับการพัฒนาเพียงสมองซีกใดซีกหนึ่งเป็นพิเศษ ไม่ให้ความสนใจเรื่องการทำงานของสมองอีกซีกหนึ่งเท่าที่ควร

               ระบบการศึกษาส่วนใหญ่ มุ่งพัฒนาการสมองซีกซ้ายด้วยการท่องจำ คำนวณ คิดเลข สรรหาถ้อยคำ วิเคราะห์ข้อมูล และอยู่ในกฎระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ ขาดการสนับสนุนให้สมองซีกขวาพัฒนาควบคู่ไป การคิดจินตนาการ การคิดแปลกใหม่ ความเป็นศิลปิน จึงไม่ค่อยมีโอกาสพัฒนา

ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)

        1 ความสามารถทางด้านภาษา

        2 วามสามารถทางด้านตรรกวิทยาและวิทยาศาสตร์

        3 ความสามารถด้านดนตรี

        4 ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

        5 ความสามารถทางด้านกีฬา

        6 ความสามารถทางด้านมนุษย์สัมพันธ์

        7 ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์

        8 ความสามารถทางด้านธรรมชาติศึกษา

        9 ความสามารถทางด้านการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา

                 - คิดไว มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาต่างๆได้ดี

                 - รู้จักเลือก หรือาวิธีการในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม

                 - เป็นเด็กช่างคิด สามารถคิดค้นประดิษฐ์สิ่งแลกใหม่อยู่เสมอ

                 - ไม่หยุดนิ่งทางความคิด ชอบเทคโนโลยี

       ลักษณะสำคัญของทฤษฎีพหุปัญญา

                  - ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน

                  - ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง9ด้านมากน้อยแตกต่างกัน

                  - ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้

                  - ปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้

                 - ในปัญญาแต่ละด้าน ก็มีความสามารถหลายอย่าง

พัฒนาการทางศิลปะ

           เคลล็อก (Kellogg) ศึกษางานขีดๆเขี่ยๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4ขั้นตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4ขั้นตอน มีดังนี้

               ขั้นที่1 ขั้นขีดเขี่ย เด็กวัย 2ขวบ จะขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้างโค้งบ้าง ปราศจากการควบคุม

               ขั้นที่2  ขั้นขีดเขี่ยเป็นรูปร่าง เด็กวัย 3ขวบ   การขีดๆเขี่ยๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น เขียนวงกลมได้และควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น

                ขั้นที่3  ขั้นรู้จักออกแบบ เด็กวัย 4ขวบ ขีดๆเขียนๆเป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้และวาดสี่เหลี่ยมได้

                ขั้นที่4  ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ เด็กวัย 5ขวบขึ้นไป เริ่มแยกแยะวัสดุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้ รับรู้ความเป็นจริงเขียนภาพแสดงถึงภาพคน/สัตว์ได้ ควบคุมการขีดเขียนได้ดี และวาดสามเหลี่ยมได้

พัฒนาการด้านร่างกาย

        การขีดเขียน

                อายุ 3-4ปี เขียนรูปร่างวงกลมตามแบบได้

                อายุ 4-5ปี เขียนรูปจตุรัสตามแบบได้

                อายุ 5-6ปี เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้


        การพับ

                อายุ 3-4ปี พับและขีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้

                อายุ 4-5ปี พับและรีดสันกระดาษทบตามแบบได้

                อายุ 5-6ปี พับและรีดสันกระดาษได้อย่างคล่องแคล่ว


         การวาด

                อายุ 3-4ปี วาดภาพคนมีศรีษะ ตา ขา ปาก

                อายุ 4-5ปี วาดภาพคนที่มีมีศรีษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า

                อายุ 5-6ปี วาดภาพคนที่มีมีศรีษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน มือ เท้า คอ




กิจกรรมในห้องเรียน




 กิจกรรม "มือน้อยสร้างสรรค์"






ผลงานของเพื่อนทุกคนในห้อง


ประเมิน

           ตนเอง  :  วันนี้เรียนทฤษฎีทำให้ง่วงเล็กน้อย แต่ก็ตั้งใจเรียน พยายามจดเนื้อหาสำคัญและจำเทคนิคต่างๆ เพื่อต่อไปจะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

           เพื่อน   :   เพื่อนตั้งใจเรียน แต่ก็มีบางคนชอบคุยไม่ค่อยตั้งใจเวลาอาจารย์อธิบาย  เพื่อนตั้งใจตั้งทำกิจกรรมในวันนี้มาก แต่ละคนสร้างสรรค์งานออกมาสวยมาก


           อาจารย์  :  อาจารย์อธิบายเนื้อหาละเอียดมาก มีการยกตัวอย่าง บอกเทคนิคต่างๆและให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมลงมือสร้างสรรค์ผลงาน ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจมากขึ้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น